สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การพูดเชิญชวนเป็นการพูดลักษณะหนึ่งของการพูดจูงใจ มีจุดมุ่งหมายหลักที่จะเปลี่ยนทัศนคติของผู้ฟังให้เป็นไปตามแนวทางของผู้พูด การพูดลักษณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ศิลปะ เป็นการพูดเพื่อโน้มน้าวจิตใจของผู้ฟัง มารยาทในการพูดเชิญชวนจะต้องใช้คำพูดสุภาพ ถูกกาลเทศะ พยายามใช้คำพูดเพื่อโน้มน้าวให้คนฟังคล้อยตาม ไม่ใช้คำขู่เข็ญหรือเชิญชวนไปในทางที่ไม่เหมาะสม มีหลายความหมาย และสามารถทำได้หลายหน้าที่ การที่จะรู้ความหมายที่ถูกต้องได้ต้องดูที่หน้าที่ของคำนั้นในประโยค

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 3.1 ตัวชี้วัด ป.3/5

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)         

- บอกหลักการพูดเชิญชวนได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- พูดเชิญชวนตามหัวข้อที่สนใจได้ 

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- มีมารยาทในการพูด

การวัดผลและประเมินผล

 ประเมินผลการทำใบงานที่ 9 เรื่อง การพูดเชิญชวน

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 20 ชื่อหน่วย ภาษาไทยยั่งยืน
ชั่วโมง ชื่อหน่วย ภาษาไทยยั่งยืน
เรื่อง การพูดเชิญชวน 18 มี.ค. 65 (มีใบงาน และใบความรู้)