สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 คำที่ประวิสรรชนีย์ คือ ที่นำพยัญชนะมาประสมสระ อะ และคงรูปสระ อะ ไว้หลังพยัญชนะเวลาอ่านออกเสียงจะอ่านออกเสียง อะ เต็มเสียง (ถ้าประสมอยู่ที่พยางค์หน้าให้ออกเสียง อะ กึ่งเสียง) เช่น กระจก กระชาก กระทะ ตะลุย คะนึง ตะลึง ละเอียด ธรรมะ กะปิ คะนึง ทะนง ประเดียว

 คำที่ไม่มีประวิสรรชนีย์ คือ คำที่ประสมสระ อะ เวลาอ่านออกเสียงคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์จะอ่านออกเสียง อะ กึงเสียง เช่น ขนุน ฉลาม ถลำ เมล็ด สารพัด สมัย ถนน ตลก ตลิง ทนาย ทยอย สกัด สงบ สไบ ขโมย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 4.1 ตัวชี้วัด ป.3/1

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกลักษณะของคำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประสรรชนีย์ได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- เขียนสะกดคำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประสรรชนีย์ได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นคุณค่าของการใช้เขียนสะกดคำให้ถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

  ประเมินผลการทำใบงานที่ 7 เรื่อง คำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 19 ชื่อหน่วย ครื้นเครงเพลงไทย
ชั่วโมง ชื่อหน่วย ครื้นเครงเพลงไทย
เรื่อง คำที่ประวิสรรชนีย์ และไม่ประวิสรรชนีย์ 3 มี.ค. 65 (มีใบงาน และใบความรู้)