สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

คำควบกล้ำไม่แท้  คือ อักษรควบที่เกิดจากพยัญชนะ 2 ตัวควบ หรือกล้ำอยู่ในสระเดียวกันออกเสียงเป็น 2 ลักษณะ  ท ควบ ร ออกเสียง ซ 

เช่น  ทราย อ่านว่า ซาย แต่ยังมีบางคำที่ออกเสียงเป็นควบแท้ เช่น จันทรา อ่านว่า จัน – ทรา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - บอกหลักการอ่านคำควบกล้ำได้

ทักษะ/กระบวนการ (P)

                    - อ่านและเขียนคำควบกล้ำได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - เห็นความสำคัญของคำควบกล้ำ

 

การวัดผลและประเมินผล

ประเด็นประเมิน

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การประเมิน

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกหลักการอ่านคำควบกล้ำได้

 

๑. พิจารณาจากการตอบคำถาม

๒. การสังเกตพฤติกรรม

 

๑. คำถาม

๒. การสังเกตพฤติกรรม

 

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1) อ่านและเขียนคำควบกล้ำได้

2) ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้

 

- ใบงานที่ 6 เรื่อง เขียนคำจากภาพ

 

- แบบประเมิน ใบงานที่ 6 เรื่อง เขียนคำจากภาพ

 

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

คุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นความสำคัญของคำควบกล้ำ

 

๑. พิจารณาจากการตอบคำถาม

๒. การสังเกตพฤติกรรม

 

1. คำถาม

๒. การสังเกตพฤติกรรม

 

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไป

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๑. ความสามารถในการสื่อสาร

๒. ความสามารถในการคิด

 

-การประเมินความสามารถใน     การสื่อสาร

-การประเมินความสามารถในการคิด

 

-แบบประเมินความสามารถในการสื่อสาร

-แบบประเมินความสามารถในการคิด

 

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ระดับคุณภาพ ผ่าน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑. ใฝ่เรียนรู้

๒. มุ่งมั่นในการทำงาน

 

-การสังเกตพฤติกรรม

 

-แบบสังเกตพฤติกรรม

 

ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ระดับคุณภาพ ผ่าน

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 18 นิทานพาเพลิน
ชั่วโมง นิทานพาเพลิน
เรื่อง เรียนรู้คำควบกล้ำไม่แท้ 18 ก.พ. 65 (มีใบงาน ใบความรู้)