สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  แนวทางการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

           ตัวชี้วัด

                   ส 3.1 ม.3/2 มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   ส 3.1 ม.3/3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์

           จุดประสงค์การเรียนรู้

                  1. นักเรียนระบุปัญหาในท้องถิ่นทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมได้ถูกต้อง

                  2. นักเรียนบอกแนวทางการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นได้ถูกต้อง

                  3. นักเรียนสามารถนำเสนอแนวทางการแก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์ได้อย่างเหมาะสม   

                  4. นักเรียนแสดงความคิดเห็นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้และแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิต 

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

2. ทำกิจกรรมประจำบทเรียน เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์

กิจกรรมประจำบทเรียน เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์

3. ถาม – ตอบ

คำถาม

ตอบคำถามถูกต้อง

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่นและระบบสหกรณ์
ชั่วโมง การพัฒนาท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์
เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและสหกรณ์ 24 ม.ค. 65 (มีวีดิโอประกอบการสอน)