สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

            อุปสงค์ส่วนเกิน หมายถึง ภาวะที่อุปสงค์มากกว่าอุปทาน ทำให้สินค้าขาดตลาด สามารถปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพ โดยทำให้ราคาเพิ่มขึ้นแล้วอุปสงค์จะลดลง อุปทานจะเพิ่มขึ้นจนเข้าสู่จุดดุลยภาพ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            ตัวชี้วัด

                    ส 3.1 ม. 3/1 อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

            จุดประสงค์การเรียนรู้

                   1. นักเรียนอธิบายลักษณะอุปสงค์ส่วนเกินได้ถูกต้อง

                   2. นักเรียนวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และบอกแนวทางการแก้ไขจากการเกิดภาวะอุปสงค์ส่วนเกินได้อย่างน้อย 3 ข้อ อย่างเหมาะสม

                   3. นักเรียนอภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะอุปสงค์ส่วนเกินได้อย่างมีเหตุผล 

                   4. นักเรียนนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาจากกิจกรรม “ทำยังไงดี สินค้าหมดแล้ว” ได้อย่างมีเหตุผล   

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

2. ทำกิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 18 เรื่อง อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)

กิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 18 เรื่อง อุปสงค์ส่วนเกิน     (Excess Demand)

3. ถาม – ตอบ

คำถาม

ตอบคำถามถูกต้อง

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
ชั่วโมง อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand)
เรื่อง อุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) 14 ม.ค. 65 (มีใบงานประกอบการสอน)