สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

            ตลาด หมายถึง สภาวะการซื้อขายสินค้าและบริการ อาจจะมี หรือไม่มีที่ตั้ง หรือมี หรือไม่มีสถานที่ขายก็ได้ ตลาดแบ่งออกได้หลายลักษณะ จะแบ่งตามลักษณะของผู้ขาย คือ ตลาดขายส่ง ตลาดขายปลีก แบ่งจากสินค้าและบริการที่จำหน่าย คือ ตลาดสินค้าผู้บริโภคและผู้ผลิต ตลาดบริการ ตลาดการเงิน และแบ่งตามลักษณะการแข่งขัน คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            ตัวชี้วัด

                      ส 3.1 ม. 3/1 อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

           จุดประสงค์การเรียนรู้

                     1.  นักเรียนสามารถนิยามความหมายของตลาดได้อย่างถูกต้อง

                     2.  นักเรียนสามารถจำแนกตลาดแต่ละลักษณะได้อย่างถูกต้อง

                     3.  นักเรียนสามารถจำลองเหตุการณ์ของตลาดลักษณะต่าง ๆ ได้

                     4.  นักเรียนเสนอความคิดเห็นการประยุกต์ใช้ความสำคัญของตลาดในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

2. ทำกิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 12 เรื่อง ความหมายและลักษณะของตลาด

กิจกรรมประจำบทเรียนและใบงานที่ 12 เรื่อง ความหมายและลักษณะของตลาด

3. ถาม – ตอบ

คำถาม

ตอบคำถามถูกต้อง

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
ชั่วโมง ความหมายและลักษณะของตลาด
เรื่อง ความหมายและลักษณะของตลาด 27 ธ.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)