สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        วรรณคดีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่ผู้แต่งมีต่อสภาพและเหตุการณ์แวดล้อมในยุคสมัยของผู้แต่ง เช่น มีความชื่นชมในวีรกรรม ความสามารถหรือบุญบารมีของบุคคลสำคัญก็แต่งเรื่องประเภทสดุดี ถ้ามีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาก็แต่งเรื่องธรรมะและชาดก  ถึงแม้วรรณคดีที่เกิดจากความสะเทือนใจส่วนตัวของผู้แต่งเอง  ผู้แต่งก็มักสร้างเนื้อหาและฉากของเรื่องขึ้นจากสิ่งที่ผู้แต่งประสบพบเห็นเป็นส่วนมาก  นอกจากรูปแบบ คำประพันธ์ ประเภท  และสาระสำคัญของเรื่องมักเป็นไปตามคตินิยมของสังคมในสมัยที่แต่ง ฉะนั้นการอ่านวรรณคดีให้ได้คุณค่าที่แท้จริง จำเป็นต้องเรียนวรรณคดีในเชิงประวัติหรือประวัติวรรณคดี

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

             ท 5.1 ม.1/1   สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

             ท 5.1  ม.1/3   อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกความหมายและระบุวรรณคดีที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
2. สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน

2. เครื่องมือ

แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม    

3. เกณฑ์

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 วินิจวรรณคดี
ชั่วโมง วรรณคดีประวัติศาสตร์
เรื่อง วรรณคดีประวัติศาสตร์ 1 ก.พ. 65 (มีใบความรู้และสื่อวีดิโอประกอบการสอน)