สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

      การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ ด้วยว่าใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์อย่างไร ต่อใครบ้าง ผู้วิเคราะห์ มีความเห็นอย่างไร เรื่องที่อ่านมีคุณค่าด้านใดบ้างและแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 5.1  ม.1/2   วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน 

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณค่าจากวรรณคดี

2. วิเคราะห์คุณค่าด้านต่าง ๆ จากวรรณคดีได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- นำเสนอผลงาน,ใบงาน เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี

2. เครื่องมือ

- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล        
- ใบงานเรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี       

3. เกณฑ์

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วรรณคดีสอนชีวิต
ชั่วโมง การวิเคราะห์คุณค่าจากวรรณคดี
เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าจากวรรณคดี 16 ธ.ค. 64 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)