สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

   กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายมหาชนที่บัญญัติขึ้นเพื่อ ความสงบเรียบร้อยในสังคม ถือเอาเจตนาของผู้กระทำความผิดเป็นใหญ่ กำหนดโทษเพื่อป้องกันการก่อเหตุ ความผิดส่วนใหญ่ยอมความไม่ได้ ส่วนกฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน อาจยืดหยุ่นไกล่เกลี่ย ถอนฟ้องได้เสมอตามดุลพินิจของศาล คำพิพากษาจะเป็นการบังคับหรืองดเว้นกระทำการเพื่อชดเชยเยียวยาแก่ผู้เสียหาย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

  ส 2.1 ม.3/1 อธิบายความแตกต่างของการกระทำความผิดระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่ง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถบอกความแตกต่างระหว่างความผิดทางอาญากับความผิดทางแพ่งได้ถูกต้อง

2. นักเรียนสามารถจำแนกความผิดทางอาญากับความผิดทางแพ่งได้ถูกต้อง

3. นักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาเรื่อง ความผิดทางอาญาและความผิดทางแพ่ง

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

  1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

  1.2 ถาม – ตอบ

  1.3 ทำใบงานที่ 21

2. เครื่องมือ

  2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

  2.2 คำถาม

    2.3 ใบงานที่ 21

 3. เกณฑ์

  3.1 ตอบคำถามถูกต้อง

  3.2 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 กฎหมายน่ารู้
ชั่วโมง ความแตกต่างระหว่างความผิดทางอาญากับความผิดทางแพ่ง
เรื่อง ความแตกต่างระหว่างความผิดทางอาญากับความผิดทางแพ่ง 16 ส.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)