สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สื่อสิ่งพิมพ์

สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง สื่อที่เป็นสิ่งพิมพ์ทุกประเภท

1. สิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

2. สิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

3. สิ่งพิมพ์เพื่อบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องหรือซองใส่สินค้า

4. สิ่งพิมพ์มีค่า เช่น ธนบัตร พาสปอร์ต บัตรเครดิต ฯลฯ

5. สิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ เช่น บัตรอวยพร ปฏิทิน ฯลฯ

6. สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นวัสดุที่บันทึกสารสนเทศในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์หรือดิจิตอล เวลาใช้ต้องมีเครื่องแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสัญญาณภาพและเสียง

ประเภทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

1. แผ่นซีดี

2. ซีดีรอม

3. แผ่นวีดีทัศน์

4. แผ่นดีวีดี

5. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

6. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์   

การอ่านสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การใช้ภาษาของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะภาษาหนังสือพิมพ์แตกต่างจากภาษามาตรฐาน มีลักษณะเฉพาะและเป็นภาษาในระดับที่ไม่เป็นแบบแผน

ลักษณะการใช้ภาษาของหนังสือพิมพ์ มีดังนี้

1. ให้ถ้อยคำง่ายๆ ภาษาปาก เพื่อให้สะดุดตา เช่น ฝนถล่ม กรุงเทพฯอ่วม

2. ไม่เคร่งครัดการสะกดคำและการใช้ลักษณนาม เช่น ๒ นักกีฬาไทยชนะงดงาม

3. ใช้คำคะนอง แสลง และอักษรย่อ เช่น กสทช. สั่งเยียวยา

4. ใช้คำผิดความหมาย เช่น สั่งนายตำรวจออกตรวจ เพื่อป้องกันความสงบ เรียบร้อย

5. ใช้คำฟุ่มเฟือย เช่น ถูกเผาทั้งเป็นในเพลิง

6. ใช้คำสำนวนต่างประเทศ เช่น จับตา ‘ม.๔๔’ อุ้มทีวีดิจิตอล

7. ใช้คำโดยไม่คำนึงถึงระบบไวยกรณ์ไทย เช่น รบ.โชว์แผน-โครงการยักษ์

8. ไม่เคร่งครัดแบบแผนของประโยค มักละประธาน คำขยาย เช่น เรียก ๓ ค่ายเคลียร์

9. ใช้สรรพนามลำดับญาติให้ฉายา เรียกชื่อเล่นของบุคคลในข่าว เช่น ลุงตู่, บิ๊กป้อม

10. ใช้เครื่องหมายแปลกๆ ประกอบการเขียน

11. ละคำเชื่อมและส่วนขยายของประโยค เช่น พายุฝนถล่มท่วมมิตรภาพ

12. ละประธาน เช่น สิ้นสุด ‘สงกรานต์’ ทยอยกลับ

3. วางคำขยายผิดที่ เช่น ให้เก็บขนมจากท้องตลาดที่มีเชื้อรา

14. ใช้ภาษากำกวม เช่น นายสิบซ้อมทหารเดินแถว

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายหลักการวิเคราะห์และวิจารณ์การใช้ภาษาของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

       2. การวิเคราะห์และวิจารณ์การใช้ภาษาของสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. ใช้แบบทดสอบ

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
ชั่วโมง การวิเคราะห์และประเมินค่าการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เรื่อง การวิเคราะห์และประเมินค่าการใช้ภาษาจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 9 ส.ค. 64 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)