สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. นำเรื่อง
เห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ พระนามแฝงว่า “พระขรรค์เพชร” เป็นบทละครพูดขนาดสั้นเพียงหนึ่งองก์ สันนิษฐานว่าเป็นบทละครพูดภาษาไทยเรื่องแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เอง

2. ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓

3. ลักษณะการแต่ง
เรื่องเห็นแก่ลูกแต่งเป็นบทละครพูด เป็นเรื่องขนาดสั้น มี 1 องก์

4. เรื่องย่อ
พระยาภักดีนฤนาถกับนายล้ำเคยเป็นเพื่อนสนิท นายล้ำมีบุตรสาวชื่อ ลออ เมื่ออายุได้ ๒ ขวบ นายล้ำถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 10 ปี ฐานทุจริต พระยาภักดีจึงอุปการะแม่ลออเป็นบุตรบุญธรรม
15 ปีต่อมา นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัวหวังพึ่งพาแม่ลออที่กาลังจะแต่งงาน แต่พระยาภักดีไม่ยินยอมให้นายล้ำแสดงตนว่าเป็นบิดาของแม่ลออ

5. ศัพท์น่ารู้
เกล้าผม
คำแทนตัวผู้พูดเพศชาย เมื่อใช้พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมาก
ปัจจุบันใช้คำว่า เกล้ากระผม
ขอบพระเดชพระคุณ ขอบคุณ ใช้พูดกับผู้อาวุโสหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เสมียญบาญชี พนักงานบัญชี ปัจจุบันใช้ เสมียนบัญชี

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความรู้ ข้อคิด เนื้อหาจากวรรณกรรม วรรณคดีได้
2. สรุปเนื้อหา และนำข้อคิดจากวรรณกรรม วรรณคดีไปใช้

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พิถีพิถันสร้างสรรค์ความคิด
ชั่วโมง บทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก
เรื่อง บทละครพูด เรื่องเห็นแก่ลูก 22 ก.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)