สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

รูปเรขาคณิตสองมิติ เป็นรูปเรขาคณิตที่แสดงความกว้างและความยาวของรูป

รูปเรขาคณิตสามมิติ เป็นทรงที่มองเห็นทั้งส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนหนา ส่วนสูงหรือส่วนลึก หรือเรียกว่า “รูปทรงเรขาคณิต”

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

           ม.1/1  ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งโปรแกรมThe Geometer’s Sketchpad หรือโปรแกรมเรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ เพื่อสร้างรูปเรขาคณิต ตลอดจนนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างนี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้

            นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะและส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตสามมิติจากรูปที่กำหนดให้ได้

 

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

             1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

             1.2 ตรวจใบงาน

2. เครื่องมือ

             2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

             2.2 แบบบันทึกการตรวจใบงาน

3. เกณฑ์

             3.1  สังเกตพฤติกรรมผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

             3.2 ตรวจใบงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ 28 ก.ย. 64 (มีใบงาน)