สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

– ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนต้นพันธุ์พืชที่ต้องการในปริมาณอันมากในเวลาอันรวดเร็วได้
– ทำให้สามารถผลิตต้นพืชที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนต้นที่เป็นต้นแบบได้
– ทำให้สามารถผลิตต้นพืชจำนวนหลายๆต้นที่มีขนาดสม่ำเสมอกันได้
– ทำให้สามารถผลิตต้นพืชที่ปราศจากโรคได้
– ทำให้สามารถเก็บรักษาพันธุ์พืชพื้นเมืองที่มีอยู่เดิม พันธุ์พืชหายาก พันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ดี พันธุ์พืชที่มีลักษณะที่ต้องการ หรือพันธุ์พืชที่แลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้
– ทำให้สามารถใช้ปรับปรุงพันธุ์พืชได้
– ทำให้สามารถผลิตยาหรือสารเคมีที่ได้จากพืชได้
– สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสกัดสารจากต้นพืชเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้
– ทำให้สามารถผลิตพันธุ์พืชที่มีความต้านทานหรือทนทานได้ เช่น พันธุ์พืชที่ทนต่อดินเค็ม หรือ ดินเปรี้ยว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพอากาศร้อนหรือหนาว, พันธุ์พืชที่ทนต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช, พันธุ์พืชที่ทนต่อโรคต่างๆและสารพิษต่างๆที่เกิดจากพวก เชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส
– ทำให้สามารถผลิตโปรโตพลาสหรือโพรโทพลาส (Protoplasts) ได้
– ทำให้สามารถผลิตพืชที่มีโครโมโซม (Chromosome) หลายชุด (Polyploids) ได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การวัดผลและประเมินผล

1. แบบประเมินทักษะกระบวนการ

2. แบบสังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การสืบพันธ์ุของพืช
ชั่วโมง การสืบพันธุ์ของพืช
เรื่อง ความสำคัญของเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 7 ต.ค. 64 (มีใบความรู้และใบกิจกรรม)