สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 เพลงพื้นบ้าน คือ เพลงของชาวบ้านที่จดจำสืบทอดกันมาแบบปากเปล่า ใช้ร้องเล่นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง โดยใช้คำที่ง่าย ๆ เน้นเสียงสัมผัสและจังหวะการร้องเป็นสำคัญ เพลงพื้นบ้านมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นเพลงที่ชาวบ้านอาศัยการฟังและจำ ไม่มีการจดเป็นตัวหนังสือ เนื้อร้องใช้คำง่าย ๆ ใช้การปรบมือหรือใช้เครื่องประกอบจังหวะง่าย ๆ ที่สำคัญต้องมีเสียงร้องรับของลูกคู่ ทำให้เกิดความสนุกสนานมากขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 5.1 ตัวชี้วัด ป.3/2

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกลักษณะของเพลงพื้นบ้านได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- เขียนแผนภาพความคิดสรุปความรู้เกี่ยวกับเพลงพื้นบ้านได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นคุณค่าและความสำคัญของเพลงกล่อมเด็ก

การวัดผลและประเมินผล

 ประเมินผลการทำใบงานที่ 6 เรื่อง ครบเครื่องเรื่องเพลงพื้นบ้าน

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 19 ชื่อหน่วย ครื้นเครงเพลงไทย
ชั่วโมง ชื่อหน่วย ครื้นเครงเพลงไทย
เรื่อง สนุกสนานเพลงพื้นบ้านไทย 2 มี.ค. 65 (มีใบงาน และใบความรู้)