สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การแต่งประโยคทำให้เรามีข้อความที่สมบูรณ์ในการสื่อสารการมีมารยาทในการเขียน ทำให้เราสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

          - บอกหลักการเขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่าย ๆ ได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

          - เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่าย ๆ ได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

          - มีมารยาทในการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

ประเด็น                 การประเมิน

ระดับคุณภาพ

(ดีมาก)

(ดี)

(พอใช้)

(ปรับปรุง)

๑. การเรียงคำเป็นประโยค

 

เรียงคำเป็นประโยค

ได้ถูกต้องทุกข้อ

เรียงคำเป็นประโยค

ได้ถูกต้อง ๔ ข้อ

เรียงคำเป็นประโยค

ได้ถูกต้อง ๓ ข้อ

เรียงคำเป็นประโยค

ได้ถูกต้องต่ำกว่า 3 ข้อ

๒. การนำประโยคมาเรียบเรียงเป็นเรื่อง

 

นำประโยคมาเรียบเรียงเป็นเรื่องได้ถูกต้องสมบูรณ์

นำประโยคมาเรียบเรียงเป็นเรื่องได้       แต่ผิด 1 แห่ง

นำประโยคมาเรียบเรียงเป็นเรื่องได้      แต่ผิด ๒ แห่ง

นำประโยคมาเรียบเรียงเป็นเรื่องได้

แต่ผิดตั้งแต่ 3 แห่งขึ้นไป

๓. การเขียน

สะกดคำ

เขียนสะกดคำได้ถูกต้องทุกคำ

 

เขียนสะกดคำผิด  ๑-๒ แห่ง

เขียนสะกดคำผิด  ๓-๕ แห่ง

เขียนสะกดคำผิด  มากกว่า ๕ แห่ง

๔. เสร็จตามเวลาที่กำหนด

เสร็จตามเวลา

ที่กำหนด

เสร็จตามเวลา

ที่กำหนด

แต่ต้องคอยกระตุ้น

เสร็จหลังเวลา

ที่กำหนด

และต้องคอยกระตุ้น

ไม่เสร็จตามเวลา

ที่กำหนด

๕. มารยาท

ในการเขียน

มีสมาธิ และมีความตั้งใจในการเขียนอย่างสม่ำเสมอ 

ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจ

ในการเขียนอย่างสม่ำเสมอ  ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจ

ในการเขียนพอสมควร  พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง

ไม่มีความตั้งใจ

ในการเขียน พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน

ตลอดเวลา  

ต้องคอยตักเตือน

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 19 อ่านเขียน ประเทืองปัญญา
ชั่วโมง อ่านเขียน ประเทืองปัญญา
เรื่อง ชวนรู้ เรื่องประโยค 25 ก.พ. 65 (มีใบงาน)