สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

- สระ ำ มีเสียงสั้น สระ ำ จะมี  ํ อยู่ข้างบนพยัญชนะต้น และสระ _า ไว้ข้างหลัง เช่น ดำ ทำ ซ้ำ คำที่ใช้สระอำ จะไม่มีตัวสะกด

- สระ ใ-  ไ- เขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะต้น และสระ เ-า จะประกอบด้วยสระ เ- กับ สระ -า

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

          - บอกคำที่ประสมสระ–ำ  ใ-  ไ-  เ-า ได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

           - เขียนคำที่ประสม สระ–ำ  ใ-  ไ-  เ-า

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

          - มีมารยาทในการอ่านการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

ประเด็น                 การประเมิน

ระดับคุณภาพ

(ดีมาก)

(ดี)

(พอใช้)

(ปรับปรุง)

ความถูกต้องของเนื้อหา 

โยงเส้นจับคู่คำได้ถูกต้อง ๕  ข้อ

โยงเส้นจับคู่คำได้ถูกต้อง ๔ ข้อ

โยงเส้นจับคู่คำถูกต้อง ๓ ข้อ

โยงเส้นจับคู่คำได้ถูกต้องน้อยกว่า ๓ ข้อ

ลายมือตัวบรรจง

เขียนลายมือสวยงาม มีหัว เว้นระยะห่างเท่ากัน

เขียนลายมือ มีหัวสม่ำเสมอเป็นส่วนใหญ่ เว้นระยะห่างไม่เท่ากัน

เขียนลายมือ มีหัวไม่ค่อยสม่ำเสมอ เว้นระยะห่างไม่เท่ากัน

เขียนลายมือไม่มัว

ไม่สม่ำเสมอ และ       

ไม่เว้นระยะห่าง

ความสะอาด

ไม่มีรอยลบคำผิด

มีรอยลบคำผิด 1 จุด

มีรอยลบคำผิด

2 – 3 จุด

มีรอยลบคำผิดมากกว่า ๓ จุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกณฑ์การตัดสิน

คะแนน 10 – 12         หมายถึง          ดีมาก

คะแนน 7 – 9            หมายถึง          ดี

คะแนน  4 – 6           หมายถึง          พอใช้

คะแนน ต่ำกว่า 4         หมายถึง          ปรับปรุง

เกณฑ์การผ่าน

ตั้งแต่ระดับ พอใช้ ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 17 วรรณกรรมสร้างสรรค์ (ใฝ่รู้ใฝ่เรียน)
ชั่วโมง วรรณกรรมสร้างสรรค์ (ใฝ่รู้ใฝ่เรียน)
เรื่อง กากับเหยือกน้ำ (2) 28 ม.ค. 65 (มีใบงาน)