สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

           ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด ทำให้ความผันผวนทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และมีผลกระทบทำให้เกิดปัญหาการว่างงานในสังคมด้วย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

           ตัวชี้วัด

                   ส 3.2 ม.3/4 อภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด

          จุดประสงค์การเรียนรู้

                  1. นักเรียนสามารถอภิปรายแนวทางการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ-เงินฝืดได้อย่างถูกต้อง

                  2. นักเรียนสามารถใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อวิเคราะห์การนำเครื่องมือในนโยบายเศรษฐกิจมาใช้ในภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืดได้อย่างเหมาะสม 

                 3. นักเรียนสามารถระบุแนวทางการรับมือเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืดได้

                 4. นักเรียนสามารถอภิปรายถึงความสำคัญของการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืดได้

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

2. ทำกิจกรรมประจำบทเรียน เรื่อง ภาวะเงินเฟ้อ - เงินฝืด (2)

กิจกรรมประจำบทเรียน เรื่อง ภาวะเงินเฟ้อ - เงินฝืด (2)

3. ถาม – ตอบ

คำถาม

ตอบคำถามถูกต้อง

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 บทบาทของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ชั่วโมง ภาวะเงินเฟ้อ - เงินฝืด
เรื่อง ภาวะเงินเฟ้อ - เงินฝืด (2) 7 ก.พ. 65