สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

            สหกรณ์ คือ "องค์กร ๆ หนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจ เพื่อดำเนินงานทั้งในด้านความคิด ระบบบริหารจัดการผลผลิต และบุคคลโดยใช้หลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ (อันจำเป็น) ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม"

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

           ตัวชี้วัด  

                  ส 3.1 ม. 3/3 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์

           จุดประสงค์การเรียนรู้

                 1. นักเรียนบอกความหมายและหลักการของสหกรณ์ได้ถูกต้อง

                 2. นักเรียนระบุประเภทของสหกรณ์ได้ถูกต้อง

                 3. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบการดำเนินงานของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักการของสหกรณ์ได้ถูกต้องมีเหตุผล

                 4. นักเรียนแสดงความคิดเห็นในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักการของสหกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้                

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

2. ทำกิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 20

เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์

กิจกรรมประจำบทเรียน และใบงานที่ 20 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์

3. ถาม – ตอบ

คำถาม

ตอบคำถามถูกต้อง

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาท้องถิ่นและระบบสหกรณ์
ชั่วโมง เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์
เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับระบบสหกรณ์ 21 ม.ค. 65 (มีใบงานและวีดิโอประกอบการสอน)