สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       การอ่านเชิงวิเคราะห์เป็นการอ่านหนังสือแต่ละเล่มอย่างละเอียดให้ได้ความครบถ้วน แล้วจึงแยกแยะให้ได้ว่าส่วนต่าง ๆ นั้นมีความหมายและความสำคัญอย่างไรบ้าง แต่ละด้านสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร  วิธีอ่านแบบวิเคราะห์นี้ อาจใช้วิเคราะห์องค์ประกอบของคำและวลี การใช้คำในประโยค วิเคราะห์สำนวนภาษา จุดประสงค์ของผู้แต่งไปจนถึงการวิเคราะห์นัย หรือเบื้องหลังการจัดทำหนังสือหรือเอกสารนั้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

             ท 5.1  ม.1/2   วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านพร้อมยกเหตุผลประกอบ

             ท 5.1  ม.1/3   อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายหลักการวิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับจากอ่าน

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน

- งานแผนที่ความคิด

2.  เครื่องมือ

- แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม    
- ตรวจงานแผนที่ความคิด

3. เกณฑ์

- ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 วินิจวรรณคดี
ชั่วโมง การอ่านเชิงวิเคราะห์
เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ 17 ก.พ. 65 (มีใบความรู้ประกอบการสอน)