สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       ภาษาไทยนั้น คำหนึ่งคำอาจมีความหมายได้หลายความหมายเปลี่ยนแปลงไปตามข้อความแวดล้อมหรือบริบทของคำนั้น อีกทั้งยังใช้ได้หลายหน้าที่ เช่น ใช้เป็นคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา เป็นต้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปคำ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 4.1  ม.1/2   สร้างคำในภาษาไทย

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความหมายของคำที่มีความหมายหลายนัย

2. อธิบายลักษณะของคำที่มีความหมายหลายนัย

3. จำแนกความหมายของคำที่มีความหมายหลายนัยได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- ตรวจใบงานเรื่อง คำที่มีความหมายหลายนัย

2. เครื่องมือ

- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- ใบงานเรื่อง คำที่มีความหมายหลายนัย     

3. เกณฑ์

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สืบสานเสน่ห์คำไทย
ชั่วโมง ความหมายและลักษณะของคำที่มีความหมายหลายนัย
เรื่อง ความหมายและลักษณะของคำที่มีความหมายหลายนัย 27 ม.ค. 65 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)