สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ภาษาพูด  คือ ภาษาเฉพาะกลุ่ม  หรือเรียกว่า ภาษษปาก เช่น พวกภาษากลุ่มวัยรุ่น บางครั้งฟังแล้วดูไม่สุภาพ มักใช้พูดระหว่างคนที่สนิทสนมกันมาก ๆ

ภาษาเขียน คือ  ภาษาเขียนที่ลักษณะเคร่งครัด ในหลักทางภาษา เรียกว่า ภาษาแบบแผน ระดับไม่เคร่งครัดมากนัก เรียกว่า ภาษากึ่งแบบแผน หรือ ภาษาไม่เป็นทางการ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 4.1  ม.1/4   วิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน

จุดประสงค์การเรียนรู้

     1. มีความรู้ความเข้าใจความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน

                2. ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับกาลเทศะ

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- ตรวจใบงานเรื่อง ภาษาพูด-ภาษาเขียน

2. เครื่องมือ

- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- ใบงานเรื่อง ภาษาพูด-ภาษาเขียน          

3. เกณฑ์

- ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สืบสานเสน่ห์คำไทย
ชั่วโมง ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน
เรื่อง ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน 25 ม.ค. 65 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)