สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

     การอ่านจับใจความสำคัญเป็นการอ่านที่มุ่งหาสาระของเรื่อง (ใจความสำคัญ+ส่วนขยายใจความสำคัญ)  เช่น เก็บจุดมุ่งหมายสำคัญของเรื่อง เก็บเนื้อเรื่องที่สำคัญ เก็บความรู้หรือข้อมูลที่น่าสนใจตลอดจนแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน  วิธีการอ่านจับใจความเบื้องต้น (SQ3R)  ได้แก่ 1. S (ดู) การอ่านสำรวจเนื้อหาอย่างคร่าว ๆ  2. Q (ถาม) การตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  3. R (อ่าน) การอ่านเพื่อหาคำตอบให้แก่คำถามที่ตั้งไว้  4. R (ท่อง) การจำและจดบันทึกข้อความสำคัญ และ 5. R (ทวน) การทบทวนประเด็น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

          ท 1.1  ม.1/2  จับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน

                      ม.1/4  ระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบ และคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่าง ๆ จากการอ่าน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกลักษณะของใจความสำคัญของข้อความหรือเรื่องที่อ่านได้

2. ระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบและคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่าง ๆ   

3. จับใจความสำคัญจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองที่อ่านได้ถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน

- ใบงาน เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ

- ใบงาน เรื่องสรุปใจความสำคัญ

- แบบทดสอบ เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ

2. เครื่องมือ

- แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม    

- ใบงาน เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ

- ใบงาน เรื่องสรุปใจความสำคัญ

- แบบทดสอบ เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ

3. เกณฑ์

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สะท้อนความคิดพินิจกาพย์
ชั่วโมง การอ่านจับใจความสำคัญ
เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ 4 ม.ค. 65 (มีใบงาน ใบความรู้และแบบทดสอบประกอบการสอน)