สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

     วรรณคดีวรรณกรรมเรื่องหนึ่ง ๆ กวีจะใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อทำให้วรรณคดีหรือวรรณกรรมนั้นมีคุณค่าน่าสนใจ ซึ่งทำให้งานเขียนนั้นมีความงาม ความไพเราะ และมีความหมายเป็นที่จับใจของผู้อ่าน ดังนั้นกวีจะต้องคิดกลวิธีการประพันธ์ให้งานนั้นออกมาอย่างเหมาะสม เพื่อสื่อทั้งความหมายและความไพเราะงดงามด้วยกลวิธีการประพันธ์ที่สำคัญที่จะต้องนำมาใช้ คือ การเล่นเสียง การเล่นคำ การใช้ภาพพจน์ โวหารและรสวรรณคดี

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 5.1  ม.1/2   วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน 

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

2. วิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- ประเมินแผนภาพความคิด

- ทำใบงานเรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านวรรณศิลป์       

2. เครื่องมือ

- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล        

- แบบประเมินแผนภาพความคิด

- ใบงานเรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านวรรณศิลป์ 

3. เกณฑ์

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วรรณคดีสอนชีวิต
ชั่วโมง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านวรรณศิลป์
เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านวรรณศิลป์ 14 ธ.ค. 64 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)