สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        “สังคม” หมายถึง ชนชาติและชุมชนที่รวมกันอยู่ภายใต้การปกครองในกรอบวัฒนธรรมเดียวกัน  สังคมเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกัน  มีขนบธรรมเนียมประเพณี  ความเชื่อและค่านิยมร่วมกัน การวิเคราะห์คุณค่าด้านสังคมในวรรณคดีวรรณกรรม สามารถวิเคราะห์ได้หลายแง่มุม ดังนี้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 5.1  ม.1/2   วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน 

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านสังคม

2. วิเคราะห์คุณค่าด้านสังคมจากวรรณคดีได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- ทำใบงานเรื่อง วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านสังคม       

2. เครื่องมือ

- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล        
- ใบงานเรื่อง วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านสังคม 

3. เกณฑ์

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 วรรณคดีสอนชีวิต
ชั่วโมง วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านสังคม
เรื่อง วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีด้านสังคม 13 ธ.ค. 64 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)