สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       การพูดสรุปความ หมายถึงการพูดสรุปสาระสำคัญจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้แก่ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง แหล่งความรู้จากการฟังและดู อาจมาจากสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ รวมทั้งการฟังบรรยายและทัศนศึกษา การฝึกฝนทักษะการพูดสรุปความอย่างสม่ำเสมอจะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 3.1  ม.1/4   ประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. รู้และเข้าใจหลักการพูดสรุปความและการประเมินค่าจากสื่อที่ฟังและดู

2. พูดสรุปความจากเรื่องที่ฟังและดูได้

3. พูดประเมินค่าจากเรื่องที่ฟังและดูได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล

- ประเมินการพูดสรุปความและประเมินค่าจากเรื่องที่ฟังและดู

2. เครื่องมือ

- แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนรายบุคคล        

- แบบประเมินการพูดสรุปความและประเมินค่าจากเรื่องที่ฟังและดู

3. เกณฑ์

ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย รายวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท21102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์
ชั่วโมง การพูดสรุปความและประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อ
เรื่อง การพูดสรุปความและประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อ 16 พ.ย. 64 (มีใบงาน ใบความรู้และสื่อวิดีโอประกอบการสอน)