สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

คำคล้องจอง คือคำที่มีสระเหมือนกัน ไม่มีตัวสะกด และคำที่มีเสียงตัวสะกดเหมือนกัน และคำคล้องจองเป็นลักษณะของภาษาที่ทำให้ภาษาไทยมีความไพเราะ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - บอกลักษณะของคำคล้องจองได้

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                    - อ่านและเขียนคำคล้องจองได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - มีมารยาทในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

เกณฑ์ประเมิน : ใบงานที่ ๖ เรื่อง  โยงเส้นจับคู่และต่อคำคล้องจอง

ประเด็น                 การประเมิน

ระดับคุณภาพ

(ดีมาก)

(ดี)

(พอใช้)

(ปรับปรุง)

๑.อ่านสะกดคำ

 

อ่านสะกดคำและบอกความหมายคำถูกต้องทุกคำ คล่องแคล่ว และสามารถอ่านนำผู้อื่นได้

 

อ่านสะกดคำและบอกความหมายคำถูกต้องเกือบทุกคำ และสามารถแก้ไขคำที่อ่านผิดได้ด้วยตนเอง

อ่านสะกดคำและบอกความหมายคำถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อมีผู้แนะนำ คำที่อ่านผิดก็สามารถแก้ไขตามได้

อ่านสะกดคำและบอกความหมายคำถูกต้องบางคำ นอกนั้นต้องมีผู้อ่านนำจึงสามารถอ่าน

ตามได้

๒. เขียนสะกดคำ

เขียนสะกดคำถูกทุกคำ

เขียนสะกดคำถูกเป็นส่วนใหญ่

 

เขียนสะกดคำถูกบางส่วน

 

เขียนสะกดคำถูก

น้อยมาก

๓.เขียนคำคล้องจอง ๑ และ ๒ พยางค์

 

 เขียนคำคล้องจอง ๑ และ ๒ พยางค์

ถูกทุกข้อ

 

เขียนคำคล้องจอง ๑ และ ๒ พยางค์

ถูก ๑๐-๑๑ ข้อ

 

เขียนคำคล้องจอง ๑ และ ๒ พยางค์

ถูก ๘-๙  ข้อ

 

เขียนคำคล้องจอง ๑ และ ๒ พยางค์

ถูก น้อยกว่า ๕ ข้อ

 

๔. มารยาท

ในการอ่านและ

การเขียน

มีสมาธิ และมีความตั้งใจในการอ่านและเขียนอย่างสม่ำเสมอ

ไม่พูดคุยเล่นระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจใน

การอ่านและเขียนอย่างสม่ำเสมอ  ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจใน

การอ่านและเขียนพอสมควร  พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง

ไม่ตั้งใจในการอ่านและเขียน พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานตลอดเวลา  ต้องคอยตักเตือน

 

เกณฑ์การตัดสิน

คะแนน           ๑๓-๑๖   คะแนน         หมายถึง          ดีมาก

คะแนน           ๙-๑๒     คะแนน         หมายถึง          ดี

คะแนน           ๕-๘       คะแนน         หมายถึง          พอใช้

คะแนน           1-๔       คะแนน         หมายถึง          ปรับปรุง

 

เกณฑ์การผ่านตั้งแต่ระดับ พอใช้

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๘ คำคล้องจองร้อยกรองไทย
ชั่วโมง คำคล้องจองร้อยกรองไทย
เรื่อง ครบเรื่องคำคล้องจอง ๑๖ ก.ย. ๖๔ (มีใบงาน)