สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  การอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก ย่อมมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อผู้อื่น นำมาซึ่งการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

1.ส 2.1 ม.3/4 วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศ และเสนอแนวคิดในการลดความขัดแย้ง

2.ส 2.1 ม.3/5 เสนอแนวคิดในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในประเทศ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของคำว่า “ความขัดแย้ง” ได้อย่างถูกต้อง

2. นักเรียนสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง สู่ผลกระทบที่เกิดขึ้นภายในประเทศได้

3. นักเรียนเห็นคุณค่าความสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้

การวัดผลและประเมินผล

 1. วิธีการ

   1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

  1.2 ถาม – ตอบ

  1.3 ทำใบงานที่ 30

 2. เครื่องมือ

  2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

  2.2 คำถาม

  2.3 ใบงานที่ 30

3. เกณฑ์

  3.1 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

  3.2 ตอบคำถามถูกต้อง

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สังคมดีมีสุข (Rerun)
ชั่วโมง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
เรื่อง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง 11 ต.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)