สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สระเอาะ เป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น คู่กับ สระออ ที่เป็นสระเดี่ยวเสียงยาว

สระเอาะ  มีวิธีใช้  ดังนี้ 

คงรูป  ใช้ในที่ทั่วไป เช่น   เกาะ  เมาะ  เบาะ  เหาะ  เพาะ  ฯลฯ

ลดรูป  คือตัดรูปเดิมออกทั้งหมดแล้วใช้ตัว    กับไม้ไต่คู้แทน ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น 

            น็อต     =     น      +      เอาะ      +      ต

            ค็อก     =      ค      +      เอาะ     +      ก

            ล็อก     =     ล      +     เอาะ      +      ก

             ฟ็อก     =      ฟ     +      เอาะ      +     ก  ฯลฯ

ถ้าประสมกับตัว “ก” และไม้วรรณยุกต์โท แต่ไม่มีตัวสะกด ให้ลดรูปทั้งหมด แล้วใช้ไม้ไต่คู้แทนเป็น “ก็” อ่านว่า “เก้าะ” มีใช้อยู่ในภาษาไทยปัจจุบันเพียงคำเดียวเท่านั้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐานการเรียนรู้ ท ๑.๑    ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

ตัวชี้วัด 

ป.๒/๑ อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่าย ๆ ได้ถูกต้อง

 ป.๒/๓  ตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน

มาตรฐานการเรียนรู้ ท ๔.๑  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ   

ตัวชี้วัด

ป.๒/๑  บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย

ป.๒/๒   เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ

จุดประสงค์

๑. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

    - ยกตัวอย่างคำที่ประสมสระเอาะได้

    - ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้

๒. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

   - อ่านสะกดคำที่ประสมสระเอาะได้ถูกต้อง

   - เขียนคำที่ประสมสระเอาะได้ถูกต้อง

๓.  ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

   - ตระหนักถึงการอ่านและเขียนคำให้ถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

- ใบงานที่ ๑ เรื่อง เขียนสะกดคำสระเอาะ

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๖ สื่อความตามสัญลักษณ์
ชั่วโมง สื่อความตามสัญลักษณ์
เรื่อง สระเอาะ เงาะป่า ๑๘ ส.ค.๖๔ (มีใบงาน, ใบความรู้และบัตรภาพ)