สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. การเขียนจำนวนคละในรูปทศนิยม อาจเขียนจำนวนคละในรูปเศษเกินก่อน ทำเศษเกินนั้นให้ตัวส่วนเป็นตัวประกอบของ 10 100 หรือ 1,000 แล้วจึงเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม 1 ตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง หรือ 3 ตำแหน่ง หรืออาจเขียนจำนวนคละในรูปผลบวกของจำนวนนับกับเศษส่วน ทำเศษส่วนให้ตัวส่วนเป็นตัวประกอบของ 10 100 หรือ 1,000 แล้วจึงเขียนเศษส่วนในรูปทศนิยม 1 ตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง หรือ 3 ตำแหน่ง โดยนำไปบวกกับจำนวนนับ

2. การเขียนทศนิยมในรูปเศษส่วน ซึ่งทศนิยม 1 ตำแหน่ง 2 ตำแหน่ง หรือ 3 ตำแหน่ง มีตัวส่วนเป็น 10 100 หรือ 1,000 ตามลำดับ แล้วเขียนเศษส่วนที่ได้ในรูปเศษส่วนอย่างต่ำ ถ้าเศษที่ได้เป็นเศษเกินให้ทำเศษส่วนอย่างต่ำนั้นเป็นจำนวนคละ หรือเขียนทศนิยมในรูปการกระจายก่อนแล้วเขียนเป็นจำนวนนับบวกเศษส่วน หากเศษส่วนนั้นทำให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้ให้ทำเศษส่วนเป็นเศษส่วนอย่างต่ำ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

เพื่อให้นักเรียนสามารถ

  1. เขียนจำนวนคละที่ตัวส่วนไม่เป็นตัวประกอบของ 10 100 หรือ 1000 ในรูปทศนิยม

  2. เขียนทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่ง ในรูปจำนวนคละ

ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

เพื่อให้นักเรียนสามารถ

  1.ให้เหตุผล

  2.สื่อสาร สื่อความหมายทางคณิตศาสตร์

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตรวจผลงานจากแบบฝึกหัด

- สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

เครื่องมือ

- แบบฝึกหัด 3.2

- แบบประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยที่ 3 เรื่อง ทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม
ชั่วโมง ทศนิยม และการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม
เรื่อง การเขียนจำนวนคละในรูปทศนิยม ที่เศษส่วนแท้ สามารถทำให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำและเศษส่วนอย่างต่ำ นั้นมีตัวส่วนเป็นตัวประกอบ ของ 10 100 หรือ 1,000 และการเขียนทศนิยมในรูปเศษส่วน 3 ส.ค. 64 (มีแบบฝึกหัด)