สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ซากดึกดำบรรพ์เป็นโครงร่างหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตในอดีต ส่วนใหญ่พบในหินตะกอนจนเกิดเป็นโครงสร้างของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในหิน พบซากดึกดำบรรพ์ที่หลากหลาย เช่น พืช ปะการัง หอย ปลา เต่า ไดโนเสาร์ และรอยตีนสัตว์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 3.2 ป. 6/3 สร้างแบบจำลองที่อธิบายการเกิดซากดึกดำบรรพ์และคาดคะเนสภาพแวดล้อมในอดีตของซากดึกดำบรรพ์

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายการเกิดซากดึกดำบรรพ์ที่เกิดจากโครงร่างของสิ่งมีชีวิตในอดีต

2. การสังเกต

3. การลงความเห็นจากข้อมูล

4. ใฝ่เรียนรู้

การวัดผลและประเมินผล

1. สังเกตการตอบคำถามในชั้นเรียนและเนื้อหาในใบงาน

2. สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในขณะทำกิจกรรม

3. สังเกตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยที่ 3 หินและซากดึกดำบรรพ์
ชั่วโมง หินและซากดึกดำบรรพ์
เรื่อง การเกิดซากดึกดำบรรพ์ (2) 28 ก.ย. 64 (มีใบงาน และใบความรู้)