สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. รูปเรขาคณิตสองรูปเป็นรูปที่คล้ายกัน เมื่อรูปเรขาคณิตทั้งสองนั้นมีรูปร่างเหมือนกัน

2. เมื่อรูปเรขาคณิต A และรูปเรขาคณิต B เป็นรูปที่คล้ายกัน  จะเขียนว่า รูปเรขาคณิต A ~ รูปเรขาคณิต B

อ่านว่า รูปเรขาคณิต A คล้ายกับรูปเรขาคณิต B    

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 มาตรฐานการเรียนรู้  ค 3.2  ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ  (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ใน

ค 6.1  ม.3/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม  

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะของรูปที่คล้ายกันได้อย่างถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

การวัดผลและประเมินผล                                                   

          1. วิธีการ

             1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

             1.2 ประเมินจากการทำใบงาน

          2. เครื่องมือ

             2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

             2.2 แบบบันทึกคะแนน

         3. เกณฑ์

            3.1 ผลงานมีความถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของคะแนน

            3.2 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ความคล้าย
ชั่วโมง รูปเรขาคณิตที่คล้ายกัน (1)
เรื่อง รูปเรขาคณิตที่คล้ายกัน (1) 29 ก.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)