สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

หลักการสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาบาลี

1. ภาษาบาลีมีพยัญชนะ 33 ตัว เป็นพยัญชนะวรรค 25 ตัว พยัญชนะเศษวรรค  8 ตัว

2. สระในภาษาบาลีมี 8 ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ

3. ภาษาบาลีมีหลักตัวสะกดตัวตามที่แน่นอนตายตัว

4. ภาษาบาลีนิยมใช้ “ฬ”  เช่น จุฬา  กีฬา  ครุฬ  เวฬุริยะ

5. ภาษาบาลีนิยมใช้ “ข”  เขต  เขม  ขัย  ขัตติย  จักขุ  ปักข์  ขมา

6. ภาษาบาลีนิยมใช้ “ริ” กลางพยางค์ เช่น ภริยา  จริยา  วิริยะ  สุริยะ  อาจาริยะ  กิริยา เป็นต้น

7. ภาษาบาลีนิยมอ่านเรียงพยางค์ เช่น  อมตะ  ปกติ  สรณะ  อุตุ  สามี  เป็นต้น

8. ภาษาบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ เช่น  ปชา  ปฐม  ปณาม  ปทุม  ปณต เป็นต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายข้อสังเกตและลักษณะคำภาษาบาลีในภาษาไทย

2. จำแนกคำภาษาบาลีในภาษาไทยได้

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พิถีพิถันสร้างสรรค์ความคิด
ชั่วโมง พิถีพิถันสร้างสรรค์ความคิด
เรื่อง หลักสังเกตคำภาษาบาลี ในภาษาไทย (Rerun) 11 ต.ค 64 (มีใบความรู้ประกอบการสอน)