สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  วิถีการดำเนินชีวิต ที่ดีงาม ย่อมมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา อย่างมีแบบแผนจนเกิดเป็นมรดก ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นตนและมีการผสมผสานกับ วัฒนธรรมจากภายนอกนำมาซึ่งแนวทางในการเลือกรับและปฏิบัติอย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

1.ส 2.1 ม.3/4 วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศ และเสนอแนวคิดในการลดความขัดแย้ง

2.ส 2.1 ม.3/5 เสนอแนวคิดในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขในประเทศ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะของสังคมชนบทและสังคมเมืองได้อย่างถูกต้อง

2.นักเรียนสามารถแยกแยะลักษณะของสังคมชนบทและสังคมเมืองได้อย่างถูกต้อง

3.นักเรียนเห็นความสำคัญของการศึกษาเรื่องลักษณะของสังคมไทย

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

  1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

  1.2 ถาม – ตอบ

  1.3 ทำใบงานที่ 29

2. เครื่องมือ

  2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

  2.2 คำถาม

  2.3 ใบงานที่ 29

3. เกณฑ์

  3.1 ผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

  3.2 ตอบคำถามถูกต้อง

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สังคมดีมีสุข
ชั่วโมง ลักษณะของสังคมไทย
เรื่อง ลักษณะของสังคมไทย 8 ก.ย. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)