สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การแต่งโคลงสี่สุภาพ

          การแต่งโคลงสี่สุภาพให้ถูกต้องสมบูรณ์เหมือนโคลงครูดังกล่าวแต่งได้ค่อนข้างยาก เพราะบางครั้งต้องรักษาเนื้อความไว้ จึงอนุโลมให้ใช้คำที่บังคับรูปวรรณยุกต์เอกหรือโทตรงตามแผนผังฉันทลักษณ์อย่างเคร่งครัด ส่วนคำอื่นที่มิได้บังคับรูปวรรณยุกต์จะใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์หรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเนื้อความในโคลง

ข้อบังคับของโคลงสี่สุภาพ

          จำนวนคำ

          - โคลงบทหนึ่งมี 4 บาท

          - บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรคหน้ามี 5 คำ และวรรคหลังของบาทที่ 1 บาทที่ 3 และบาทที่ 3 มีวรรคละ     

               2 คำ ส่วนวรรคหลังของบาทที่ 4 มี 4 คำ

          คำเอก คำโท

          - บังคับให้ใช้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับ 7 ตำแหน่ง และคำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ 4 ตำแหน่ง

          - ตำแหน่งคำเอกและคำโท ในวรรคหน้าบาทที่ 1 (คำที่ 4 และ 5) สลับกันได้

          - ตำแหน่งคำเอกอาจใช้คำตาย (คือคำที่ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา หรือมีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ)

             หรือใช้คำเอกโทษแทนได้ ตำแหน่งโท อาจใช้คำโทโทษแทนได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายหลักการแต่งโคลงสี่สุภาพได้
  2. แต่งบทร้อยกรอง โคลงสี่สุภาพได้

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

1. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บทกวีที่ชื่นชอบ
ชั่วโมง การแต่งบทร้อยกรอง (โคลงสี่สุภาพ)
เรื่อง การแต่งบทร้อยกรอง (โคลงสี่สุภาพ) 6 ต.ค 64 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)