สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. การแปลความ

    การอ่านที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจกับเนื้อหา เริ่มจากการแปลคำหรือศัพท์ที่ไม่รู้ความหมาย หรือเป็นการแปลศัพท์จากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง การถอดคำประพันธ์ แปลความหมายรูปภาพ เครื่องหมายต่าง ๆ

2. การตีความ

    การอ่านที่พยายามหาสิ่งที่ซ้อนเร้นอยู่ในข้อเขียนหรืออากัปกิริยา ท่าทาง สีหน้า แววตา น้ำเสียง เพื่อทราบความหมายหรือเจตนาที่แท้จริงที่แฝงเร้นอยู่ ถ้าเป็นการสื่อความธรรมดาก็คงไม่ต้องตีความ แต่ถ้าอากัปกิริยาท่าทางกับคำพูดขัดแย้งกัน ผู้อ่านจะต้องค้นหาความจริง ว่าเจตนาที่จริงหมายถึงอะไรกันแน่ การตีความควรจะตีทความทั้งด้านเนื้อหาและด้านน้ำเสียงควบคู่กันไป

3. การขยายความ

    การนำรายละเอียดมาพูดหรืออธิบายเสริมความคิดหลักหรือประเด็นสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น อาจเป็นการให้ข้อมูลเพิ่มเติม ให้เหตุผล ยกตัวอย่างประกอบ หรือมีการเปรียบเทียบให้ได้เนื้อความกว้างขวางออกไป จนเป็นที่เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกหลักการตีความและประเมินคุณค่าการวิเคราะห์วิจารณ์ความเป็นไปได้ของเรื่อง

2. สามารถแปลความ ตีความ วิเคราะห์ วิจารณ์ บทกวีได้

3. สรุปความรู้และข้อคิดจากบทประพันธ์ได้

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 บทกวีที่ชื่นชอบ
ชั่วโมง การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความรู้ ความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากบทประพันธ์
เรื่อง การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความรู้ ความคิดเห็นหรือโต้แย้งจากบทประพันธ์ 4 ต.ค 64 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)