สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ความหมายของการอ่านจับใจความสำคัญ
การอ่านเพื่อเก็บสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน ทำหน้าที่คลุมใจความของข้อความอื่น ๆ ในตอนนั้น ๆ หรือ ย่อหน้านั้น ๆ ส่วนมากจะมีเพียงประเด็นเดียว
การพิจารณาใจความสำคัญ
1. ใจความสำคัญที่ปรากฏอยู่ในแต่ละย่อหน้า ดังนี้
1.1 ใจความสำคัญอยู่ในตำแหน่งต้นของย่อหน้าและมีรายละเอียดวางอยู่ในตำแหน่งถัดไป
1.2 ใจความสำคัญอยู่ในตำแหน่งท้ายของย่อหน้า
1.3 ใจความสำคัญอยู่ในตำแหน่งต้นและท้ายย่อหน้า มีรายละเอียดอยู่ตรงกลาง
1.4 ใจความสำคัญอยู่ในตำแหน่งกลางย่อหน้า มีรายละเอียดอยู่ตอนต้นกับตอนท้าย
2. อ่านจับใจความสำคัญที่ปรากฏรวมอยู่ในหลาย ๆ ย่อหน้า การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญแบบนี้
มีหลักสำคัญของการปฏิบัติตามลาดับขั้นตอนดังนี้
2.1 อ่านอย่างคร่าว ๆ พอเข้าใจ
2.2  อ่านให้ละเอียด
2.3 อ่านแล้วถามตัวเองว่า เรื่องนี้มีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม
อนึ่ง การตั้งคำถามไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทั้งหมด อาจจะต้องเปลี่ยนไปตามเงื่อนไขของงานเขียน เช่น เรื่องอะไร ใครเป็นผู้เขียน ใจความสำคัญว่าอย่างไร
3. รวบรวมคำตอบจากข้อ 2.3 มาเรียบเรียงให้สละสลวย เหมาะสมตามลำดับความสำคัญของเนื้อความ
หลักการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ
1. อ่านจากบนลงล่างแทนการอ่านจากซ้ายไปขวาทีละตัว และอย่าอ่านทุกตัวอักษร เพราะจะทำให้อ่านช้า
2. ฝึกกวาดสายตา เพื่อให้อ่านได้ทีละประโยค ๆ ซึ่งจะช่วยให้อ่านได้รวดเร็ว
3. พยายามเก็บความของแต่ละตอน เมื่ออ่านจบตอนหนึ่งแล้ว โดยรู้จักแยกใจความสำคัญและใจความที่นำมาประกอบในแต่ละข้อความออกจากกันให้ได้
4. ขณะที่อ่านต้องนึกไว้เสมอว่าเรื่องที่กาลังอ่านอยู่นั้นเป็นเรื่องอะไร มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร เมื่ออ่านจบแล้วจะได้ตอบปัญหาที่ตั้งไว้ได้
5. พยายามให้ความสนใจในสิ่งที่ต้องการเพียงอย่างเดียว เมื่อต้องการจะอ่านเพื่อตอบปัญหา
หรือจับใจความก็ไม่ควรพะวงอยู่กับเรื่องหลักภาษาหรือเรื่องราวอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในความต้องการ
6. อย่าอ่านซ้ำเพราะจะทำให้เสียเวลา ในบางครั้งเราอาจจะได้ทราบความหมายจากประโยคถัดไปได้
7. ฝึกอ่านอย่างสม่าเสมอ อ่านหนังสือหลาย ๆ ประเภท เพื่อให้เกิดความชำนาญ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ระบุใจความสำคัญและรายละเอียดของของมูลที่สนับสนุนจากเรื่องที่อ่านได้

2. อ่านจับใจความสำคัญจากสารคดีที่อ่าน

3. พูดนำเสนอหน้าชั้นเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญจากสารคดีที่อ่าน เรื่อง เพลงนี้มีประวัติ

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 พัฒนาพาที
ชั่วโมง ใจความสำคัญนั้น สำคัญไฉน
เรื่อง ใจความสำคัญนั้น สำคัญไฉน 1 ก.ย. 64 (มีใบงาน ใบความรู้ประกอบการสอน)