สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

    1. ความหมายของการวิเคราะห์วรรณกรรม

        การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบด้วยว่า ใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร     มีประโยชน์อย่างไร ต่อใครบ้าง ผู้วิเคราะห์ มีความเห็นอย่างไร เรื่องที่อ่านมีคุณค่าด้านใดบ้างและแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง

    2. ประเด็นที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณค่าของงานวรรณคดีและวรรณกรรม

1) คุณค่าด้านวรรณศิลป์ คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ ความรู้สึกและจินตนาการตามรส ความหมายของถ้อยคำและภาษาที่ผู้แต่งเลือกใช้ เพื่อให้มีความหมายกระทบใจผู้อ่าน

2) คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ แนวความคิดและกลวิธีนำเสนอทั้ง 2 ประเด็นนี้ จะอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบพอเข้าใจ โดยจะกล่าวควบกันไปทั้งการวิเคราะห์และการวิจารณ์

3) คุณค่าด้านสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมจะสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและวรรณคดีที่ดีสามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย

4) การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันผู้อ่านสามารถนำแนวคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายการวิเคราะห์คุณค่าจากบทเพลงและบทร้อยกรองได้
  2. วิเคราะห์วิถีไทยและคุณค่าจากวรรณคดีและวรรณกรรม พร้อมยกเหตุผลประกอบได้

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
ชั่วโมง การวิเคราะห์คุณค่า วรรณคดีวรรณกรรม และบทเพลง
เรื่อง การวิเคราะห์คุณค่าวรรณคดีวรรณกรรมและบทเพลง 25 ส.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)