สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การโต้วาที

  เป็นการพูดโต้แย้งหน้าที่ประชุม โดยแบ่งผู้พูดเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเสนอญัตติ และฝ่ายคัดค้านญัตติ เรียกสั้นๆ ว่าฝ่ายเสนอ และฝ่ายต้น มีผู้ตัดสินชี้ขาดให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ

 องค์ประกอบของการโต้วาที

          1. ผู้โต้วาที

          2. ญัตติ

          3. ประธานหรือผู้ดำเนินการโต้วาที

          4. ผู้จับเวลา

          5. กรรมการตัดสิน

          6. ผู้ฟัง

 ข้อปฏิบัติในการโต้วาที

          1. ผู้โต้วาทีทุกคนเตรียมการพูด เตรียมข้อมูลล่วงหน้า

          2. มีมารยาทในการพูด ไม่พูดส่อเสียด ขุดคุ้ยเรื่องส่วนตัว หรือใช้กิริยาไม่สุภาพ

          3. ไม่ใช้ภาษาหยาบคาย หรือเล่นสำนวนโวหารเกินไป

          4. พูดให้มีเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง

          5. ใช้ศิลปะโน้มน้าวใจผู้ฟังคล้อยตาม

          6. ตรงต่อเวลา นิยมกำหนดเวลา ๓-๕ นาที ต่อผู้โต้วาที ๑ คน

          7. มีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายความรู้ และ ความเข้าใจ ในการพูดโต้วาที

2. พูดโต้วาที ได้อย่างถูกต้องรู้จักกาลเทศะและบุคคล

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. ใช้แบบทดสอบ

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
ชั่วโมง การพูดโต้วาทีและมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
เรื่อง การพูดโต้วาทีและมารยาทในการฟัง การดู และการพูด 19 ส.ค. 64 (มีใบงานและใบความรู้ประกอบการสอน)