สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การพูดโน้มน้าวใจ

   การพูดเชิญชวน เกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิด ความเชื่อถือ ศรัทธา มีความคิดเห็นคล้อยตามและปฏิบัติตาม

ภาษาเพื่อการโน้มน้าวใจ

1. ผู้โน้มน้าวใจควรใช้ภาษาที่มีน้ำเสียงในเชิงเสนอแนะ ขอร้อง วิงวอน เร้าใจ โดยคำนึงถึงจังหวะและความนุ่มนวล

2. ผู้พูด ต้องหาวิธีโน้มน้าวใจคนฟังให้เอนเอียงมาฝ่ายตน ให้ผู้ฟังเกิดศรัทธา ไม่ควรใช้คำพูดและน้ำเสียงเด็ดขาด แข็งกระด้าง

    มารยาทในการพูดโน้มน้าวใจ

1. ให้ความสนใจต่อผู้ฟังและเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ฟังอย่างจริงใจ

2. สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส

3. เป็นนักฟังที่ดี ก่อนพูดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ฟังให้มากที่สุด

4. ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญหรือชี้จุดเด่นในตัวผู้ฟัง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายการพูดโน้มน้าวใจ
  2. พูดโน้มน้าวใจได้ถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. ใช้แบบทดสอบ

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
ชั่วโมง ปฏิบัติการพูดโน้มน้าวใจ
เรื่อง ปฏิบัติการพูดโน้มน้าวใจ 18 ส.ค. 64 (มีใบงานและวิดีโอประกอบการสอน)