สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การโต้แย้ง

การแสดงทรรศนะที่แตกต่างกัน ระหว่างบุคคล ๒ ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายพยายามให้ข้อมูล สถิติ หลักฐานเหตุผล รวมทั้งการอ้างถึงทรรศนะของผู้รู้ เพื่อสนับสนุนทรรศนะของตนเองและคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่ง

กระบวนการในการโต้แย้ง

1. การตั้งประเด็นในการโต้แย้ง

2. การนิยามคำสำคัญที่อยู่ในประเด็นของการโต้แย้ง

3. การค้นหาและเรียบเรียงข้อสนับสนุนทรรศนะของตน

4. การชี้ให้เห็นจุดอ่อนและความผิดพลาดของทรรศนะของฝ่ายตรงข้าม

การวินิจฉัยเพื่อการตัดสินข้อโต้แย้ง

1. พิจารณาเฉพาะเนื้อหาสาระ ที่แต่ละฝ่ายนำมาโต้แย้งกัน ผู้วินิจฉัยจะไม่นำความรู้และประสบการณ์ของตนเข้ามาใช้เลย เช่นตัดสินการโต้วาที การตัดสินของผู้พิพากษาในคดีต่างๆ

2. วินิจฉัยโดยใช้ดุลพินิจของตน เช่นการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง การตัดสินเพื่อลงมติในที่ประชุม

มารยาทในการโต้แย้ง

1. ไม่ใช้อารมณ์ คำว่าแพ้หรือชนะ ในการโต้แย้ง หมายถึงแพ้ชนะกันด้วยเหตุผล ผู้โต้แย้ง จึงต้องคอยคุมอารมณ์ให้สงบ วางจิตใจให้เป็นกลาง มองดูที่เหตุผลเป็นสำคัญ การโต้แย้งใช้เหตุผล การโต้เถียงใช้อารมณ์

2. มีมารยาทในการใช้ภาษา โดยเฉพาะโต้แย้งกับผู้ที่มีอาวุโสกว่า หรือเป็นบุคคลที่ควรเคารพนับถือ

เราต้องใช้ภาษาด้วยความระมัดระวังให้สุภาพ เพื่อแสดงความอ่อนน้อม ต่อบุคคลผู้นั้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายหลักการวิเคราะห์ วิจารณ์ เขียนแสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเสนอความคิดใหม่อย่างมีเหตุผล

       2. เขียนแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง เรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. ใช้แบบทดสอบ

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พินิจคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
ชั่วโมง การวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น โต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
เรื่อง การวิเคราะห์ วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน 11 ส.ค. 64 (มีใบความรู้ประกอบการสอน)