สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แนวทางในการพิจารณาวรรณกรรม

 เนื้อเรื่อง

   บทละครพูดเรื่อง เห็นแก่ลูก แสดงถึงความรักของพ่อที่มีต่อลูกผ่านพฤติกรรมของตัวละครแต่ละตัว โดยพระยาภักดีนฤนาถ เป็นตัวแทนของบิดาเลี้ยงที่ทำหน้าที่พ่อด้วยความเต็มใจ ส่วนนายล้ำ เป็นตัวแทนของบิดาผู้ให้กำเนิดซึ่งสามารถเปลี่ยนความเห็นแก่ตัวไปเป็นความเห็นแก่ลูกได้ในที่สุด

ศิลปะการประพันธ์

   1. ใช้ภาษาโบราณ แต่ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น “ไม่รับประทาน” (ไม่รับประทาน คือ ไม่เอา)

   2. ใช้คำพูดที่สั้น แต่แฝงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละครไว้กระชับ

   3. ใช้บทสนทนาแสดงบรรยากาศ เหตุการณ์ และอารมณ์ของตัวละคร

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ

   1. การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ดังจะเห็นได้จากผลทุจริตของนายล้ำที่ต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลา ๑๐ปี

   2. ความรักระหว่างพ่อลูกเป็นความรักบริสุทธิ์ไม่หวังผล ดังที่นายล้ำล้มเลิกความเห็นแก่ตัวของตนเอง เมื่อได้รับรู้ว่าแม่ลออมีความภาคภูมิใจในตัวบิดาผู้ให้กำเนิดอย่างไร

   3. ความรักบริสุทธิ์สามารถเผื่อแผ่ไปถึงบุคคลอื่นได้ ตัวอย่างเช่นความรักของพระยาภักดีนฤนาถที่มีต่อแม่ลออ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เลือดเนื้อเชื้อไขของตนเอง

การนำไปใช้ในชีวิตจริง

   1. การหลงในอบายและการทำกรรมชั่วทั้งปวงล้วนนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม

   2. การรู้ผิดชอบชั่วดีในการกระทำของตนจะช่วยให้ครอบครัวปกติสุขไร้ซึ่งปัญหา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. อธิบายข้อคิด เนื้อหาจากวรรณกรรม  วรรณคดีได้
  2. สรุปข้อคิดจากวรรณกรรม วรรณคดีไปใช้

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. สังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พิถีพิถันสร้างสรรค์ความคิด
ชั่วโมง ข้อคิดจากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก
เรื่อง ข้อคิดจากบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก 29 ก.ค. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)