สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

หลักการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมเบื้องต้น

1. ความหมายของการวิเคราะห์วรรณกรรม

การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาตรวจตรา แยกแยะและประเมินค่า ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ในการนำไปแสดงความคิดเห็น อภิปรายข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นทราบ

2. แนวในการวิเคราะห์วรรณกรรม

2.1 ความเป็นมาหรือประวัติของหนังสือและผู้แต่ง เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ

2.2 ลักษณะคำประพันธ์

2.3 เรื่องย่อ

2.4 เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องในหัวข้อต่อไปนี้

             2.5 แนวคิด จุดมุ่งหมาย เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง ซึ่งต้องวิเคราะห์ออกมาก

             2.6 คุณค่าของวรรณกรรม โดยปกติแบ่งออกเป็น 6 ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง

3. การวิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

การวิเคราะห์ หมายถึง การพิจารณาองค์ประกอบทุกส่วน โดยวิธีแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ ตั้งแต่ถ้อยคำสำนวน การใช้คำ ใช้ประโยค 

การวิจารณ์ หมายถึง การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้นให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิง ยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา

การวิจารณ์งานประพันธ์ หมายถึง การพิจารณากลวิธีต่าง ๆ ทุกอย่างที่ปรากฏในงานเขียน ซึ่งผู้เขียนแสดงออกมา อย่างมีชั้นเชิง โดยผู้วิจารณ์จะต้องแสดงเหตุผลที่จะชมเชยหรือชี้ข้อบกพร่องใด ๆ ลงไป          

3.1 การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์

3.2 การวิจารณ์คุณค่าด้านเนื้อหาสาระ

3.3 การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม

3.4 การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. วิเคราะห์รายละเอียดเรื่องตามความสมเหตุสมผลและการลำดับความ

2. วิจารณ์ความเป็นไปได้ของเรื่อง

การวัดผลและประเมินผล

1. ใช้คำถาม

2. พูดวิจารณ์

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 จับใจจับตาหาความสำคัญ
ชั่วโมง การวิจารณ์ความสมเหตุสมผลและประเมินความถูกต้องของเรื่องที่อ่าน
เรื่อง การวิจารณ์ความสมเหตุสมผลและประเมินความถูกต้องของเรื่องที่อ่าน 21 มิ.ย. 64 (มีใบงานประกอบการสอน)