สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

1.1 ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจโดยศึกษาสาระสำคัญของเรื่องและข้อความทุกข้อความ  เพื่อแบ่งวรรคตอนในการอ่านได้อย่างเหมาะสม

1.2 อ่านออกเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึงกัน ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

1.3 อ่านให้คล่อง ฟังรื่นหูและออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี ชัดถ้อยชัดคำ โดยเฉพาะตัว ร ล หรือ  คำควบกล้ำต้องออกเสียงให้ชัดเจน

1.4 อ่านออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างธรรมชาติที่สุด เน้นเสียงและถ้อยคำตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุ อ้อนวอน จริงจัง โกรธ

1.5 อ่านออกเสียงให้เหมาะกับประเภทของเรื่อง รู้จักใส่อารมณ์เหมาะสมตามเนื้อเรื่อง ขณะที่อ่านควรสบสายตาผู้ฟังในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ

1.6 การอ่านในที่ประชุมต้องจับหรือถือบทอ่าน

2. ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยแก้ว

2.1 เข้าใจสาระสำคัญของเรื่อง อารมณ์ และวัตถุประสงค์ของผู้เขียนที่ต้องการสื่อถึงผู้อ่าน

2.2 อ่านคำภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขระวิธี ชัดวรรค ชัดถ้อย ชัดคำ โดยเฉพาะคำ ร ล หรือคำควบกล้ำ

2.3 แบ่งวรรคตอนในการอ่าน และอ่านเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง

2.4 มีสมาธิในการอ่าน ไม่อ่านผิด อ่านตก อ่านเพิ่ม หรืออ่านผิดบรรทัด กวาดสายตาจากซ้ายไปขวา อ่านไปอีกบรรทัดได้อย่าว่องไวและแม่นยำ

2.5 อ่านด้วยน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ เหมือนเสียงพูด มีลีลาและอารมณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน เน้นคำสำคัญและคำที่ต้องการให้เกิดภาพพจน์

2.6 อ่านออกเสียงดังพอประมาณ ไม่ตะโกน หรือเสียงเบาเกินไป ถ้าอ่านออกเสียงผ่านไมโครโฟน ควรยืนให้สง่างาม ปากห่างจากไมโครโฟนพอเหมาะ เพื่อมิให้เสียงหายใจเข้าไมโครโฟน

2.7 ในระหว่างที่อ่านควรกวาดสายตาตามตัวอักษร สลับกับการเงยหน้าขึ้นสบตาผู้ฟัง อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมชาติ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนอธิบายหลักการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

2. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

การวัดผลและประเมินผล

-

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 จับใจจับตาหาความสำคัญ
ชั่วโมง การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
เรื่อง การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว 2 มิ.ย 64 (มีใบงานและวีดิโอประกอบการสอน)