สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 ข้อความในรูปสัญลักษณ์ของการบวก การลบ การคูณ หรือการหาร ของค่าคงตัวและตัวแปรต่างๆ เรียกว่า นิพจน์

          เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนได้ในรูปการคูณของค่าคงตัวและตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยที่เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก

          สัมประสิทธิ์ของเอกนาม คือ ค่าคงตัวในเอกนาม และ

          ดีกรีของเอกนาม คือ ผลบวกของเลขชี้กำลังของตัวแปรทุกตัว

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

               มาตรฐาน  ค 1.2          เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูปความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรมและนำไปใช้

               ตัวชี้วัด  ค 1.2 ม.2/1     เข้าใจหลักการการดำเนินการของพหุนามและใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

จุดประสงค์

                   1. สามารถบอกได้ว่านิพจน์ใดเป็นเอกนาม

                   2. บอกสัมประสิทธิ์ตัวแปรและดีกรีของเอกนามได้

การวัดผลและประเมินผล

        1 วิธีการ

                    1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 1.1 เรื่อง เอกนามและ ใบงานที่ 1.2 เรื่อง สัมประสิทธิ์และดีกรีของ

                      เอกนาม

                   3. นักเรียนประเมินตนเอง

          2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 1.1 และ ใบงานที่ 1.2

                   2. ใบงานที่ 1.1 และ ใบงานที่ 1.2

          3 เกณฑ์


                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง พหุนาม
ชั่วโมง เอกนาม
เรื่อง เอกนาม วันที่ 21 ก.ย. 64 (มีใบงาน)