สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

         การเขียนจำนวนที่มีค่ามาก ๆ รูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ต้องเขียนในรูป  เมื่อ  และ n เป็นจำนวนเต็มบวก โดยเลื่อนจุดทศนิยมไปทางซ้ายมือครั้งละหนึ่งตำแหน่ง จนถึงตำแหน่งที่ทำให้จำนวนนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 และจำนวนครั้งที่เลื่อนจุดทศนิยมไปนั้นจะเท่ากับเลขชี้กำลังของ 10

          การเขียนจำนวนที่มีค่าน้อย ๆ ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ต้องเขียนในรูป  เมื่อ  และ n เป็นจำนวนเต็มลบ โดยเลื่อนจุดทศนิยมไปทางขวามือครั้งละหนึ่งตำแหน่ง จนถึงตำแหน่งที่ทำให้จำนวนนั้นมากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 และจำนวนครั้งที่เลื่อนจุดทศนิยมไปนั้นจะเท่ากับเลขชี้กำลังของ 10 แต่เป็นจำนวนลบ           

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ค 3.2           เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของ                              จำนวนผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการและนำไปใช้

ตัวชี้วัด ค 2.2 ม.2/1      เข้าใจและใช้สมบัติของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มในการแก้ปัญหา                            คณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริงได้

จุดประสงค์

          นักเรียนสามารถเขียนแสดงจำนวนที่มีค่ามาก ๆ หรือน้อย ๆ ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                    1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                     2. ตรวจใบกิจกรรมที่ 3 เรื่อง เขียนอย่างไร

                    3. ตรวจใบงานที่ 2 เรื่อง การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

                    4. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 2 เรื่อง การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

                   2. ใบงานที่ 2 เรื่อง การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง
ชั่วโมง สมบัติของเลขยกกำลัง 2
เรื่อง สมบัติของเลขยกกำลัง (2) วันที่ 8 ก.ย. 64 (มีใบงาน)