สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การหาพื้นที่ผิวของรูปเรขาคณิตสามมิติ สามารถทำได้โดยการคลี่รูปสามมิติให้เป็นรูปสองมิติ แล้วคำนวณหาพื้นที่ของรูปสองมิติที่ได้ จะได้พื้นที่ผิวของรูปสามมิติที่ต้องการ และถ้าต้องการทราบความจุของรูปเรขาคณิตสามมิติ ก็คำนวณหาปริมาตรของรูปสามมิตินั้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ค 2.1   เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดและนำไปใช้

ตัวชี้วัด    ม.2/1   ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องพื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

              ม.2/2   ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์

          นักเรียนสามารถหาพื้นที่ผิวของปริซึมได้

การวัดผลและประเมินผล

9.1 วิธีการ

                   1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 5 เรื่อง พื้นที่ผิวของปริซึม

                   3. นักเรียนประเมินตนเอง

          9.2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 5 เรื่อง พื้นที่ผิวของปริซึม

                   2. ใบงานที่ 5 เรื่อง พื้นที่ผิวของปริซึม

          9.3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

 

 

 

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ปริซึมและทรงกระบอก
ชั่วโมง พื้นที่ผิวของปริซึม 1
เรื่อง พื้นที่ผิวของปริซึม (1) วันที่ 9 ส.ค. 64 (มีใบงาน)