สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เศษส่วนทุกจำนวน สามารถเขียนอยู่ในรูปทศนิยมซ้ำได้ และทศนิยมซ้ำทุกจำนวนสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้ จำนวนจริงประกอบด้วย จำนวนตรรกยะ และจำนวนอตรรกยะ  การยกกำลังกับการหารากของจำนวนจริงมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการหารากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การใช้ตาราง และหาได้โดยการประมาณค่า 

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ค 1.1  เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน

                      ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้

ตัวชี้วัด    ม.2/2  เข้าใจจำนวนจริงและความสัมพันธ์ของจำนวนจริง และใช้สมบัติของจำนวนจริงในการ

                      แก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์

           นักเรียนสามารถหาค่ารากที่สามโดยใช้ตารางได้

การวัดผลและประเมินผล

1 วิธีการ

                   1. สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

                   2. ตรวจใบงานที่ 13 เรื่อง การหาค่ารากที่สามโดยใช้ตาราง

                   3. ตรวจใบงานที่ 14 เรื่อง การหาค่ารากที่สามโดยการประมาณค่า

                   4. นักเรียนประเมินตนเอง

2 เครื่องมือ

                   1. แบบบันทึกการตรวจใบงานที่ 13 และใบงานที่ 14

                   2. ใบงานที่ 13 เรื่อง การหาค่ารากที่สามโดยใช้ตาราง

                   3. ใบงานที่ 14 เรื่อง การหาค่ารากที่สามโดยการประมาณค่า

3 เกณฑ์

                   1. ผลงานมีความถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80%

                   2. นักเรียนมีคุณภาพในระดับ 2 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริง
ชั่วโมง การหารากที่สามโดยใช้ตาราง
เรื่อง การหารากที่สามโดยใช้ตาราง วันที่ 13 ก.ค. 64 (มีใบงาน)