สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การหารทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกด้วยทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกให้ทำตัวหารเป็นจำนวนนับ เช่น

       - กรณีที่ตัวหารเป็นทศนิยม 1   ตำแหน่งให้คูณทั้งตัวตั้งและตัวหารด้วย   10  

       - กรณีที่ตัวหารเป็นทศนิยม 2   ตำแหน่งให้คูณทั้งตัวตั้งและตัวหารด้วย   100  

       - กรณีที่ตัวหารเป็นทศนิยม 3   ตำแหน่ง ให้คูณทั้งตัวตั้งและตัวหารด้วย   1,000

     ดังนั้น การทำให้ตัวหารเป็นจำนวนนับโดยนำ 10 หรือ 100 หรือ 1,000 หรือ... คูณทั้งตัวตั้งและตัวหาร   

ตามความจำเป็น

การหารทศนิยมด้วยทศนิยมที่เป็นการหารลงตัว อาศัยการคูณตามข้อตกลง ดังนี้

                                    ตัวหาร  × ผลหาร  =    ตัวตั้ง

  การหาผลหารของทศนิยม จึงสามารถหาได้โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ดังนี้ 

       - ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกทั้งคู่ ให้ทำตัวหารเป็นจำนวนนับแล้วหาคำตอบซึ่ง

         จะได้คำตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก

- ถ้าตัวตั้งและตัวหารเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบทั้งคู่ ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งและค่าสัมบูรณ์ของ  

  ตัวหารมาหารกันแล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก

- ถ้าตัวตั้งหรือตัวหารตัวใดตัวหนึ่งเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนลบโดยที่อีกตัวหนึ่งเป็นทศนิยมที่เป็นจำนวนบวก 

ให้นำค่าสัมบูรณ์ของตัวตั้งและค่าสมบูรณ์ของตัวหารมาหารกัน แล้วตอบเป็นทศนิยมที่เป็น    จำนวนลบ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ค 1.1 ม.1/1 เข้าใจจำนวนตรรกยะ  และความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะและใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.นักเรียนสามารถหาผลหารของทศนิยมที่กำหนดให้ได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

             1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

             1.2 ตรวจใบงาน

2. เครื่องมือ

             2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

             2.2 แบบบันทึกการตรวจใบงาน

3. เกณฑ์

            3.1  สังเกตพฤติกรรมผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

            3.2 ตรวจใบงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
เรื่อง การหารทศนิยม 21 ก.ค. 64 (มีใบงาน ใบความรู้)