สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมใดๆ หาได้จากระยะที่ทศนิยมนั้นห่างจาก  0 บนเส้นจำนวน ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย  |  |

          หลักการเปรียบเทียบทศนิยม  ได้ดังนี้

    1)  การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นบวกสองจำนวนใดๆ ให้พิจารณาเลขโดดคู่แรกในตำแหน่งเดียวกันที่ไม่เท่ากัน จำนวนที่มีเลขโดดในตำแหน่งนั้นมากกว่าจะมีค่ามากกว่า

    2)  การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นลบสองจำนวนใดๆ ให้หาค่าสัมบูรณ์ของจำนวนทั้งสอง จำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่าจะมีค่ามากกว่า

          3)  การเปรียบเทียบทศนิยมที่เป็นบวกกับทศนิยมที่เป็นลบเนื่องจากทศนิยมที่เป็นบวกอยู่ทางขวาของ 0 และทศนิยมที่เป็นลบอยู่ทางซ้ายของ 0 ดังนั้นทศนิยมที่เป็นบวกจะมากกว่าทศนิยมที่เป็นลบเสมอ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ค 1.1 ม.1/1 เข้าใจจำนวนตรรกยะ  และความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะและใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. นักเรียนสามารถหาค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมที่กำหนดให้ได้

2. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนที่เขียนในรูปทศนิยมได้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

             1.1 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

             1.2 ตรวจใบงาน

2. เครื่องมือ

             2.1 แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

             2.2 แบบบันทึกการตรวจใบงาน

3. เกณฑ์

             3.1  สังเกตพฤติกรรมผ่านเกณฑ์ในระดับพอใช้ขึ้นไป

             3.2 ตรวจใบงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
ชั่วโมง หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน
เรื่อง ค่าสัมบูรณ์และการเปรียบเทียบทศนิยม 13 ก.ค.64 (มีใบงาน ใบความรู้)