สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

1. การถ่ายละอองเรณู (pollination) คือ การที่ละอองเรณูไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ซึ่งการถ่ายละอองเรณูจะเกิดขึ้นเมื่อดอกของพืชชนิดนั้นๆ เจริญเติบโตเต็มที่ และส่วนของอับเรณูก็จะแตกออก ทำให้ละอองเรณูที่อยู่ภายในเคลื่อนที่ออกสู่ภายนอกตามแรงต่างๆ เช่น แรงดึงดูดของโลก แรงในการสั่นสะเทือนของต้นไม้ แรงลม แรงดันน้ำ เป็นต้น และละอองเรณูก็จะไปตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย

ประเภทของการถ่ายละอองเรณูมีดังนี้
- การถ่ายละอองเรณูภายในดอกเดียวกัน
- การถ่ายละอองเรณูคนละดอกกันแต่อยู่ในต้นเดียวกัน
- การถ่ายละอองเรณูข้ามต้น

2. การปฏิสนธิ (fertilization)เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นต่อจากการถ่ายละอองเรณู ซึ่งเมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ละอองเรณูจะเริ่มรับน้ำจากยอดเกสรเพศเมียด้วยวิธีการแพร่ (diffusion) จนมีปริมาณน้ำมากพอ (ละอองเรณูจะมีลักษณะพองขึ้น) ก็จะมีการแบ่งเซลล์เพิ่มขึ้นจนเกิดเป็นท่อหรือหลอด (pollen tube) งอกลงไปในก้านเกสรเพศเมียจนกระทั่งถึงรังไข่
          นิวเคลียส 2 ตัว ซึ่งจะเจาะเข้าสู่ภายในถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) สเปิร์มนิวเคลียสตัวที่ 1 จะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกตซึ่งจะเจริญไปเป็นต้นอ่อน สเปิร์มนิวเคลียสตัวที่ 2 จะผสมกับโพลาร์นิวเคลียสได้เอนโดสเปิร์มซึ่งเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงต้นอ่อน เรียกวิธีการนี้ว่า การปฏิสนธิ (fertilization) และเป็นการปฏิสนธิ 2 ครั้ง ซึ่งเรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกความหมายของการปฏิสนธิได้

2. อธิบายการปฏิสนธิของพืชได้

3. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีส่วนในการปฏิสนธิของพืชดอกได้

การวัดผลและประเมินผล

1. แบบประเมินทักษะกระบวนการ

2. แบบสังเกตพฤติกรรม

ปีการศึกษา 2564 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การสืบพันธ์ุของพืช
ชั่วโมง การสืบพันธุ์ของพืช
เรื่อง ปฏิสนธิของพืชดอก 29 ก.ย. 64 (มีใบกิจกรรมและสื่อวิดีโอ)